“ประกันสังคม” จ่อปรับเพดานอัตราเงินสมทบใหม่ ผู้ประกันตนมาตรา 33 จ่ายเพิ่มเป็น 845 – 1,150 บาท เพิ่มสิทธิประโยชน์
เมื่อวันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทางด้าน สำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน มีการเปิดให้ผู้ประกันตนลงแบบสอบถามเรื่องการเพิ่มสิทธิประโยชน์เมื่อปรับเพดานค่าจ้าง ตั้งแต่ปี 2569 เป็นต้นไปว่ามีความคิดเห็นอย่างไร หลังจากอัตราเดิมมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2538 ยาวมาถึงปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้
สำหรับการจ่ายเงินเข้าประกันสังคมในปัจจุบัน
ผู้ประกันตน มาตรา 33 มีเงื่อนไขระบุว่า คนที่ได้ค่าจ้าง 15,000 บาทต่อเดือน จะต้องส่งเงินสมทบประกันสังคมสูงสุด 750 บาทต่อเดือน พร้อมได้สิทธิประโยชน์ดังนี้
เจ็บป่วย 7,500 บาทต่อเดือน
คลอดบุตร 22,500 บาทต่อครั้ง
ทุพพลภาพ 7,500 บาทต่อเดือน
เงินสงเคราะห์กรณี 90,000 บาท
ว่างงาน 7,500 บาทต่อเดือน
บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 3,000 บาทต่อเดือน
บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 5,250 บาทต่อเดือน
อัตราการเก็บเงินปัจจุบันใช้มานานกว่า 30 ปี ทางสำนักงานประกันสังคม จะมีการปรับอัตราเงินเดือนที่ต้องจ่ายใหม่ พร้อมสิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้น โดยปรับขึ้นแบบขั้นบันได 3 ช่วงเวลา ดังนี้
ช่วงที่ 1 อัตราการจ่ายเงินปี 2569 – 2571
– ค่าจ้าง 17,500 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 875 บาทต่อเดือน
– เจ็บป่วย 8,750 บาทต่อเดือน
– คลอดบุตร 26,250 บาทต่อครั้ง
– ทุพพลภาพ 8,750 บาทต่อเดือน
– เงินสงเคราะห์กรณี 105,000 บาท
– ว่างงาน 8,750 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 3,500 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 6,125 บาทต่อเดือน
ช่วงที่ 2 อัตราการจ่ายเงินปี 2572 – 2574
– ค่าจ้าง 20,000 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 1,000 บาทต่อเดือน
– เจ็บป่วย 10,000 บาทต่อเดือน
– คลอดบุตร 30,000 บาทต่อครั้ง
– ทุพพลภาพ 10,000 บาทต่อเดือน
– เงินสงเคราะห์กรณี 120,000 บาท
– ว่างงาน 10,000 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 4,000 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 7,000 บาทต่อเดือน
ช่วงที่ 3 อัตราการจ่ายเงินปี 2575 เป็นต้นไป
– ค่าจ้าง 23,000 บาทต่อเดือน ส่งเงินประกันสังคมสูงสุด 1,150 บาทต่อเดือน
– เจ็บป่วย 11,500 บาทต่อเดือน
– คลอดบุตร 34,500 บาทต่อครั้ง
– ทุพพลภาพ 11,500 บาทต่อเดือน
– เงินสงเคราะห์กรณี 138,000 บาท
– ว่างงาน 11,500 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 15 ปี 4,600 บาทต่อเดือน
– บำนาญส่งเงินมา 25 ปี 8,050 บาทต่อเดือน